คุณสมบัติ
ผู้สมัครจบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า เช่น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
ชื่อปริญญา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (การออกแบบเครื่องประดับ)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Fine and Applied Arts (Jewelry Design)
อักษรย่อภาษาไทย: ศป.บ. (การออกแบบเครื่องประดับ)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.F.A. (Jewelry Design)
ปรัชญาหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้เฉพาะทางด้านการออกแบบเครื่องประดับ มีความคิดด้านการออกแบบเครื่องประดับอย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ มีความรู้ด้านการจำแนกประเภทของอัญมณี มีทักษะฝีมือด้านเทคโนโลยีและการผลิตที่ทันสมัย มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการในแวดวงอุตสากรรมอัญมณีและเครื่องประดับได้อย่างมีคุณภาพทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
เกี่ยวกับหลักสูตร
สร้างเสริมความรู้และความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบเครื่องประดับ ทักษะการออกแบบด้วยการวาดมือและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 มิติ และ 3 มิติ เชิงอุตสาหกรรมและเชิงศิลปะ การออกแบบเครื่องประดับแฟชั่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ งานโลหะกรรม เทคโนโลยีการผลิตต้นแบบเครื่องประดับ เพื่อประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรมและประกอบธุรกิจของตนเองได้้
แนวทางการประกอบอาชีพ
- นักออกแบบเครื่องประดับอุตสาหกรรม
- นักออกแบบเครื่องประดับเชิงศิลปะ
- นักออกแบบเครื่องประดับแฟชั่น
- นักออกแบบเครื่องประดับประณีตศิลป์
- ผู้ผลิตต้นแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ
- นักออกแบบเครื่องประดับอิสระ
- ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น เพื่อเข้าสู่แวดวงวิชาการ นักวิจัยเชิงสร้างสรรค์
กิจกรรมระหว่างเรียน
- กิจกรรมศึกษาดูงาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นจันทบุรี งานช่าง ความเชื่อท้องถิ่น อุตสาหกรรมทอเสื่อจันทบูร เพื่อการเรียนรู้สู่การออกแบบเครื่องประดับเชิงวัฒนธรรม
- กิจกรรมปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านศิลปะและการออกแบบ การวาดเส้น การลงสีน้ำ การลงสีไม้ สีอะคลิลิก และสีโปสเตอร์ เพื่อการออกแบบเครื่องประดับ
- กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้เรียนครบวงจรทั้งด้านการออกแบบ การเขียนแบบ การสร้างต้นแบบ กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีด้านการออกแบบและกาผลิตเครื่องประดับ
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้เรียน เพื่อต่อยอดการเป็นเจ้าของธุรกิจ
- สัมมนาและอบรมให้ความรู้จากผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญในวงการอัญมณีและเครื่องประดับ
- การออกแบบดิสเพลย์ การถ่ายภาพ การจัดนิทรรศการ การจัดแฟชั่นโชว์และนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและการออกแบบเครื่องประดับ
- ศึกษาดูงานจากสถานที่จริงในด้านอัญมณีและเครื่องประดับ เช่น เหมืองพลอย ตลาดพลอย พิธิภัณฑ์อัญมณี งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับระดับนานาชาติ
- กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการแก่ผู้เรียนด้วยโปรแกรมออกแบบคอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบเครื่องประดับ และฝึกปฏิบัติการสร้างต้นแบบเครื่องประดับด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
- ฝึกงานและปฏิบัติงานในลักษณะการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในสถานประกอบการที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบเครื่องประดับทั้งในระบบอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชนที่เน้นด้านเทคนิคและการออกแบบเชิงวัฒนธรรม
ค่าธรรมเนียมการศึกษา หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2559 (นิสิตรหัส 59, 60, 61, 62, 63)
- นิสิตไทย ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 12,000 บาท
- นิสิตไทย ภาคฤดูร้อน ภาคเรียนละ 6,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษา หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2564 (นิสิตรหัส 64, 65, 66, 67, 68)
- นิสิตไทย ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 19,300 บาท
- นิสิตไทย ภาคฤดูร้อน ภาคเรียนละ 9,650 บาท
- นิสิตต่างชาติ ภาคต้น/ภาคปลาย ภาคเรียนละ 39,300 บาท
- นิสิตต่างชาติ ภาคฤดูร้อน ภาคเรียนละ 19,650 บาท
ทุนการศึกษา
- กยศ.
- ทุนส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ