ประกันคุณภาพการศึกษา คณะอัญมณี
คณะอัญมณีดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจสำหรับนิสิต ผู้ปกครองผู้ใช้บัณฑิต และผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อคณะอัญมณี และหลักสูตรของคณะอัญมณีทั้ง 3 หลักสูตร โดยดำเนินงานตามนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพา
เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับคณะ
- ปีการศึกษา 2561 – ปัจจุบัน
- ใช้เกณฑ์ EdPEx (Education Criteria for Performance Excellence) – เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
- ปีการศึกษา 2558 – 2560
- ใช้เกณฑ์ CUPT QA (Council of the University Presidents of Thailand Quality Assurance) - เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับสถาบันการศึกษาในกลุ่มที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
- ก่อนปีการศึกษา 2558
- ใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา
เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2558
ปีการศึกษา 2558 – ปัจจุบัน ใช้เกณฑ์ AUN QA (ASEAN University Network Quality Assurance)
รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
หลักสูตรศิลปกรรมศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
คณะอัญมณีดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเองและรับการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาทุกปีการศึกษา ตามกรอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ได้ระบุให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระ และความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงมีหน้าที่ร่วมกับสถานศึกษาในการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยมีประกาศทบวงมหาวิทยาลัยเรื่อง ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 5 และมาตรา 47 วรรคสอง เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ต่อมาในปี 2553 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ซึ่งรวมการประกันคุณภาพภายในและภายนอกของการศึกษาทุกระดับไว้ในฉบับเดียวกัน โดยกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปีและแจ้งผลให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทราบ รวมทั้งเปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อสาธารณชน