คณะอัญมณี
  • หน้าแรกstart here
  • เกี่ยวกับเราAbout us
    • ประวัติความเป็นมา
    • การบริหาร
      • คณะกรรมการประจำคณะ
      • คณะผู้บริหาร
    • อาจารย์
      • สาขาเทคโนโลยีอัญมณีและเครื่องประดับ
      • สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
      • สาขาการออกแบบเครื่องประดับ
    • บุคลากร
  • ระบบสารสนเทศInformation systems
    • สำหรับนิสิต
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน
      • ระบบเมล
      • ระบบรายงานตัวนิสิตออนไลน์
      • ระบบ e-Learning
    • สำหรับศิษย์เก่า
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
    • สำหรับอาจารย์
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน
      • ระบบ E-learning
      • ระบบจัดการข้อมูลหลักสูตร ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา(TQF)
      • ระบบบุคลากรอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบเมลบุคลากร
      • ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย
      • ระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองออนไลน์ (e-SAR)
      • ระบบข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์(e-News)บางแสน
      • ระบบประเมินออนไลน์
    • สำหรับบุคลากร
      • ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบบริการการศึกษา
      • ระบบประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน
      • ระบบบุคลากรอิเล็กทรอนิกส์
      • ระบบเมลบุคลากร
      • ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย
      • ระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองออนไลน์ (e-SAR)
      • ระบบข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์(e-News)บางแสน
      • ระบบประเมินออนไลน์
  • หลักสูตรCourse
  • ภารกิจmission
    • งานวิจัย
    • การจัดการความรู้
    • งานประกันคุณภาพ
    • งานบริการวิชาการ
    • งานทำนุบำรุงศิลปวัมนธรรม
  • ติดต่อเราcontact us

เกี่ยวกับเรา :

ประวัติความเป็นมา

          อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นอุตสาหกรรมส่งออกใน ลำดับต้น ๆ ที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประเภทนี้ประสบปัญหาการขาดแคลน บุคลากรทั้งระดับบริหารจัดการและระดับฝีมือแรงงาน ทบวง มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนในสาขาวิชาทางด้านอัญมณีและ เครื่องประดับและได้วางแผน การผลิตบัณฑิตให้เพียงพอและเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ สนองความต้องการ ของอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลก

          จากผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ มีความจำเป็นต้องใช้กำลังคนที่มีทักษะและความสามารถสูง ในสัดส่วนที่เพิ่มสูงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานที่ใช้ ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของกระบวนการผลิตและการตลาด การควบคุมคุณภาพ การวิจัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในสาขาวิชาทางด้านอัญมณี และเครื่องประดับอย่างรีบด่วนและทบวง มหาวิทยาลัยได้นำ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ โดยกำหนด ให้สาขาทางด้านวิชาอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสาขาที่ขาดแคลน

          จากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เข้าร่วมอยู่ในโครงการผลิตบัณฑิตสาขา วิชาทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปี พ.ศ ๒๕๓๗ ในโครงการจัดตั้งภาค วิชาวัสดุศาสตร์ - เทคโนโลยีอัญมณี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเริ่มรับนิสิตรุ่นแรกตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๓๘ และต่อมา มีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังภูมิภาคของรัฐบาล การจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ขึ้น ณ จังหวัดจันทบุรี วิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยในโครงการจัดตั้งที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้วนั้น ให้จัดตั้งวิทยาลัยอัญมณี ณ วิทยาเขตดังกล่าว โดยมีแผนดำเนินการเปิดสอนใน ๕ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาอัญมณีและเครื่องประดับ สาขาเทคโนโลยีอัญมณี สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ สาขาอัญมณีศาสตร์ และสาขาการออกแบบเครื่องประดับ



          ในปี พ.ศ ๒๕๔๘ วิทยาลัยอัญมณีได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ มี ๓ หลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร ๔ ปี มี ๑ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับโดยยุบรวมสาขาอัญมณีและเครื่องประดับและสาขาเทคโนโลยีอัญมณีเดิม
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต เป็นหลักสูตร ๔ ปี มี ๑ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร ๔ ปี มี ๑ สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการออกแบบเครื่องประดับ

          ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วิทยาลัยอัญมณีได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะอัญมณี” เมื่อมหาวิทยาลัยบูรพาเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

          ในปี พ.ศ ๒๕๕๔ คณะอัญมณีได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ มี ๓ หลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเครื่องประดับ

          ในปี พ.ศ ๒๕๕๙ คณะอัญมณีได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มี ๓ หลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเครื่องประดับ

          ในปี พ.ศ ๒๕๖๔ คณะอัญมณีได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เริ่มใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖๔ มี ๓ หลักสูตร ดังนี้

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ปรับชื่อสาขาเป็น สาขาวิชาเทคโนโลยีอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาการออกแบบเครื่องประดับ

วิสัยทัศน์

องค์กรผลิตบัณฑิตคุณภาพ พัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการ
เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่ระดับสากล

พันธกิจ

๑. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม เชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านอัญมณีและเครื่องประดับ และเป็นที่พึงประสงค์
๒. สร้างผลงานวิจัย นวัตกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อการพัฒนาประเทศ
๓. มีศักยภาพในการบริการวิชาการด้านอัญมณีและเครื่องประดับระดับมาตรฐานสากล
๔. สนับสนุน ส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมของชาติและรับผิดชอบต่อสังคม
๕. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เข้มแข็งตั้งบนหลักธรรมาภิบาล มุ่งสู่การพึ่งพาตนเองได้

ปรัชญา

สร้างเสริมปัญญา ใฝ่หาความรู้ คู่คุณธรรม ชี้นำสังคม

ปณิธาน

มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางอัญมณีและเครื่องประดับในระดับสากล

อัตลักษณ์

SMART GEMS : ความรู้เป็นเลิศทางอัญมณีและเครื่องประดับ ควบคู่จรรยาบรรณ

Copyright © 2020 Faculty of Science and Arts, Burapha University,Chanthaburi Campus. All rights reserved.